ยินดีต้อนรับสู้ความเป็นไทยค่ะ

วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555

       วัฒนธรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

       ภาคอีสานมีพื้นที่กว้างใหญ่ พื้นที่ราบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมักมีทะเลสาบรูปแอกเป็นจำนวนมาก แต่ทะเลสาบเหล่านี้จะมีน้ำเฉพาะฤดูฝนเท่านั้น เมื่อถึงฤดูร้อนน้ำก็จะเหือดแห้งไปหมด เพราะดินส่วนใหญ่ เป็นดินทรายไม่อุ้มน้ำ น้ำจึงซึมผ่านได้เร็ว ภาคนี้จึงมีปัญหาเรื่องการขาดแคลนน้ำ และดินขาดความอุดม สมบูรณ์ ทำให้พื้นที่บางแห่งไม่สามารถใช้ประโยชน์ในการเกษตรได้อย่างเต็มที่ ด้วยที่มีความแห้งแล้ง ขาด แคลนน้ำ ทำให้เกิดความเชื่อ และประเพณีเกี่ยวข้องกับการขอฝน เช่น งานบุญบั้งไฟ ซึ่งถือว่าเป็นเทศกาล สำคัญ หรือด้วยเหตุผลจากความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์ ทำให้มีกลุ่มคนหลายกลุ่มอพยพเข้ามาจากดิน แดนใกล้เคียง มีการสร้างสรรค์วัฒนธรรมของกลุ่มขึ้น เช่น การพูดภาษาอีสาน ภาษาเขมร ภาษาส่วย การ แสดงหมอลำ การร้องกันตรึม เป็นต้น



วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับอาหารการกิน
   อาหารหลักของชาวอีสาน คือ ข้าวเหนี่ยว เช่นเดียวกับชาวเหนือ สิ่งของเครื่องใช้เกี่ยวกับการทำและเก็บ อาหารจึงเหมือนกัน ส่วนอาหารจานหลักเกี่ยวกับข้าวเหนี่ยว คือ ปลาร้า ซึ่งเป็นปลาที่นำมาหมักกับเกลือ และรำหรือข้าวคั่ว นำมาปรุงเป็นอาหารประเภทต่างๆ เช่น
น้ำพริกปลาร้า หรือน้ำปลาร้ามาเป็นเครื่องปรุงรสแทนน้ำ ปลาในอาหารชนิดต่างๆ เช่น ลาบ ก้อย หมก ต้ม คั่ว แกง อ่อม และอาหารเกือบทุกมื้อต้องมีแจ่วที่ใส่น้ำปลาร้าเป็น เครื่องปรุง ความเคยชินในการรับประทานอาหารของชาว อีสาน คือ ชอบรับประทานอาหารดิบๆ ด้วยความเชื่อว่าจะ ทำให้ร่างกายแข็งแรง แต่อาหารแบบนี้มีพยาธิใบไม้ในตับ ทำให้ชาวอีสานส่วนใหญ่เป็นโรคพยาธิ และสุขภาพไม่ค่อย ดี ทางการจึงรณรงค์และส่งเสริมให้ชาวอีสานมีความรู้เรื่อง โภชนาการ เพื่อเปลี่ยนค่านิยมในการรับประทานให้ถูกสุข ลักษณะ
    วัฒนธรรมเรื่องอาหารการกินของชาวอีสาน ปัจจุบันแพร่หลายไปทั่วประเทศและต่างประเทศ ที่มีชาว อีสานทำงานอยู่ เห็นได้จากการนำปลาร้ามาแปรรูปเป็นปลาร้าผง ปลาร้าตากแห้ง เพื่อส่งออกไปขายยังต่าง ประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่มีแรงงานชาวอีสานและชาวลาวอยู่มาก ปลาร้าจึงเป็นสินค้าที่ทำรายได้เข้า ประเทศอีกชนิดหนึ่ง

วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับที่อยู่อาศัย
     เรือนไทยภาคอีสาน เป็นหนึ่งในเรือนไทย 4 ภาคของไทย แบ่งออกได้เป็นการปลูกเรือนในลักษณะชั่ว คราว กึ่งถาวร หรือเรือนถาวรประเภทของเรือนอีสาน
เอกลักษณ์ของเรือนไทยภาคอีสาน
     มีลักษณะเด่นอยู่ 3 ประเภท คือ
  1. ไม่นิยมทำหน้าต่างทางด้านหลังตัวเรือน ถ้าจะทำจะเจาะเป็นช่องเล็กๆ พอให้ยี่นศีรษะออกไปได้เท่า นั้น
  2. ไม่นิยมต่อยอดป้านลมให้สูงขึ้นไป เหมือนเรือนของชาวไทยล้านนาที่เรียกว่า 'กาแล'
  3. ไม่นิยมตั้งเสาเรือนบนตอม่อ เหมือนเรือนของชาวไทยมุสลิมทางภาคใต้ ด้วยเหตุที่ชาวไทยภาค อีสานปลูกเรือนด้วยการฝังเสา จึงไม่มีการตั้งบนตอม่อม
    องค์ประกอบของเรือนไทยภาคอีสาน

  1. เรือนนอนใหญ่  จะวางด้านจั่วรับทิศตะวันออก-ตะวันตก ส่วนมากจะมีความยาว 3 ช่วงเสา เรียกว่า"เรือนสามห้อง" ใต้ถุนโล่ง ชั้นบนแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
    • ห้องเปิง เป็นห้องนอนของลูกชาย มักไม่มีการกั้นห้อง
    • ห้องพ่อ-แม่ อาจกั้นเป็นห้องหรือปล่อยโล่ง
    • ห้องนอนลูกสาว มีประตูเข้ามีฝากั้นมิดชิด หากมีลูกเขยจะให้นอนในห้องนี้
ส่วนชั้นล่างของเรือนนอนใหญ่ อาจใช้สอยได้อีก เช่น กั้นเป็นคอกวัวควาย ฯลฯ
  1. เกย  คือบริเวณชานโล่งที่มีหลังคาคลุม เป็นพื้นที่ลดระดับลงมาจากเรือนนอนใหญ่ มักใช้เป็นที่รับ แขก หรือที่รับประทานอาหาร ส่วนของใต้ถุนจะเตี้ยกว่าปกติ อาจไว้ใช้เป็นที่เก็บฟืน
  2. เรือนแฝด เป็นเรือนทรงจั่วแฝด เช่นเดียวกับเรือนนอน โครงสร้างทั้งคานพื้นและขื่อหลังคา จะฝาก ไว้กับเรือนนอน แต่หากเป็นเรือนแฝดลดพื้นลงมากกว่าเรือนนอน ก็มักเสริมเสาเหล็กมารับคานไว้อีก แถวหนึ่งต่างหาก
  3. เรือนโข่ง  มีลักษณะเป็นเรือนทรงจั่วเช่นเดียวกับเรือนนอนใหญ่ แต่ต่างจากเรือนแฝดตรงที่โครง สร้างของเรือนโข่งจะแยกออกจากเรือนนอนโดยสิ้นเชิง สามารถรื้อถอนออกไปปลูกใหม่ได้ โดยไม่ กระทบกระเทือนต่อเรือนนอน
  4. เรือนไฟ (เรือนครัว)  ส่วนมากจะเป็นเรือน 2 ช่วงเสา มีจั่วโปร่งเพื่อระบายควันไฟ ฝานิยมใช้ไม้ไผ่ สานลายทแยงหรือลายขัด
  5. ชานแดด  เป็นบริเวณนอกชานเชื่อมระหว่างเกยเรือนแฝดกับเรือนไฟ มีบันไดขึ้นด้านหน้าเรือน มี"ฮ้างแอ่งน้ำ" อยู่ตรงขอบของชานแดด บางเรือนที่มีบันไดขึ้นลงทางด้านหลัง จะมี "ชานมน" ลด ระดับลงไปเล็กน้อย โดยอยู่ด้านหน้าของเรือนไฟ
ลักษณะชั่วคราว
    สร้างไว้ใช้เฉพาะบางฤดูกาล เช่น "เถียงนา" หรือ "เถียงไฮ่" ทำ ยกพื้นสูง เสาไม้จริง โครงไม้ไผ่ หลังคามุงหญ้า หรือแป้นไม้ที่รื้อมา จากเรือนเก่า พื้นไม้ไผ่สับฟาก ทำฝาโล่ง หากไร่นาไม่ไกลสามารถ ไปกลับได้ มีอายุใช้งาน 1-2 ปี สามารถรื้อซ่อมใหม่ได้ง่าย



ลักษณะกึ่งถาวร
     ก็คือจะเป็นแบบกระต๊อบกระท่อม หรือเรือนเล็ก จะไม่มั่นคงแข็ง แรงนัก มีชื่อเรียก "เรือนเหย้า" หรือ "เฮือนย้าว" หรือ "เย่าเรือน"อาจเป็นแบบเรือนเครื่องผูก หรือเป็นแบบเรือนเครื่องสับก็ได้ เรือน เหย้ากึ่งถาวรยังมี "ตูบต่อเล้า" ซึ่งเป็นเพิงที่สร้างอิงกับตัวเล้าข้าว และ "ดั้งต่อดิน" ซึ่งเป็นเรือนที่ตัวเสาดั้งจะฝังถึงดิน และใช้ไม้ท่อน เดียวตลอดสูงขึ้นไปรับอกไก่ เป็นเรือนพักอาศัยที่แยกมาจากเรือน ใหญ่ เรือนเหย้ากึ่งถาวรอีกประเภทหนึ่งคือ "ดั้งตั้งคาน" หรือ "ดั้งตั้ง ขื่อ" ลักษณะคล้ายเรือนเกยทั่วไป แต่พิถีพิถันน้อยกว่าอยู่ในประเภท ของเรือนเครื่องผูก แตกต่างจากเรือนดั้งต่อดิน ตรงที่เสาดั้งต้น กลางจะลงมาพักบนคานของด้านสะกัด ไม่ต่อถึงดิน
ลักษณะถาวร
     เป็นเรือนเครื่องสับหรือเรือนไม้กระดานอาจจำแนกได้เป็น 3 ชนิด คือ เฮือนเกย เฮือนแฝด เฮือนโข่ง ลักษณะใต้ถุนสูงเช่นเดียวกับภาคอื่นๆ เรือนเครื่องสับเหล่านี้ ไม่นิยมเจาะช่องหน้าต่าง มักทำหน้าต่างเป็น ช่องแคบๆ ส่วนประตูเรือนทำเป็นช่อง ออกทางด้านหน้าเรือนเพียงประตูเดียว ภายในเรือนจึงค่อนข้างมืด เพราะในฤดูหนาวมีลมพัดจัดและอากาศหนาวจัด จึงต้องทำเรือนให้ทึบ และกันลมได้ หลังคาเรือนทำเป็น ทรงจั่วอย่างเรือนไทยภาคกลาง มุงด้วยกระเบื้องดินเผาหรือกระเบื้องไม้สัก จั่วกรุด้วยไม้ตีเกล็ดเป็นรูปรัศมี ของอาทิตย์ทั้งสองด้าน รอบหลังคาไม่มีชายคา หรือปีกนกยื่นคลุมตัวบ้านเหมือนอย่างเรือนไทยภาคกลาง

วัฒนธรรมเกี่ยวกับที่สืบเนื่องจากการทำเกษตรกรรม

     ในภาคอีสานมีลักษณะทำการเกษตรแบบยังชีพ (subsistence) เป็นส่วนมา คือทำการเกษตรเพื่อที่จะนำผลิตผลมาบริโภคในครัว เรือนของตน เช่น ปลุกข้าวไว้กิน, ปลูกฝ้ายไว้ทอผ้า เลี้ยงไหมไว้ ทอผ้า เป็นต้น การเกษตรส่วนใหญ่จะเน้นที่ การทำนา เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งการทำนายังคงใช้แรงงานจากคนและสัตว์อยู่ บริเวณปลูกข้าวที่ สำคัญคือที่รายลุ่มแม่น้ำ เกษตรกรยังมีการใช้แรงงานไม่เต็มที่ตลอด ปี ในช่วงฤดูแล้งเป็นช่วงที่ทำงานไม่เต็มที่มากที่สุดเลยต้องย้ายเข้า
กรุงเพื่อไปหางานที่นั้นแทน
    ปัจจุบันมีการตื่นตัวที่จะปลูกพืชเงินมาก ขึ้นโดยใช้ที่ดอนหรือถากถางป่าโคก เพื่อเพราะปลูก ทั้งนี้เพราะ
ตลาดมีความต้องการมากขึ้น ดังนั้นภาคอีสานจึงกลังประสบปัญหาป่าไม้ถูกบุกรุกภาคอีสานมีการพัฒนาชล
ประทานมากขึ้น โดยมีการพัฒนาชลประทานแบบอ่างเก็บน้ำมากที่สุด อ่างเก็บน้ำเล็กๆที่สร้างขึ้น มากกว่า 100 แห่ง แต่ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการเพราะยังมีพื้นที่อีกจำนวนมากที่อยู่นอกเขตชลประทาน ดังนั้น
รัฐบาลกำลังหาลูทางที่จะพัฒนาน้ำบาดาลออกมาใช้ในการเกษตรขนาดย่อมและเพื่อบริโภคภาคอีสานมีพื้น ที่ดินขาดความอุดมสมบูรณ์กว้างขวาง จึงทำให้ราษฎรได้รับผลตอบแทนที่ต่ำมาก ในภาคอีสานมีการเลี้ยง
สัตว์แบบพื้นเมืองเป็นส่วนมาก คือ จะเลี้ยงโคกระบือเป็นฝูงเล็กๆ ปล่อยให้หากินหญ้าตามไร่นา
    ทรัพยากรธรรมชาติของอีสานทรัพยากรแร่ธาตุที่ปรากฏอยู่ในทุกจังหวัดของอีสานคือ เกลือหิน ซึ่งสะสม
อยู่ในดินชั้นล่าง แต่การขุดมาใช้งานยังไม่ได้ทำกันเลยและแร่เหล็ก, แมงกานีส, ยิบซัม, สังกะสี, ตะกั่ว,ทอง
แดง ในจังหวัดเลยทรัพยากรป่าไม้ของภาคอีสาน จะมีป่าดงดิบในบริเวณภูเขาและลุ่มน้ำและต่างๆ ที่ความ ชุ่มชื่นมาก เช่นป่าแถบจังหวัดเลย, ข่อนแก่น, นครพนม, สกลนคร, นครราชสีมา และอีกหลายจังหวัดที่มีภู เขา ป่าเหล่านี้ถูกบุกรุกทำลายอย่างหนัก เพื่อที่จะทำเป็นที่เพราะปลูกและนำไม้ออกมาใช้ส่วนป่าแดง,ป่า
แพะ, หรือป่าโคกหรือป่าเต็งรัง มีมากถึง 70-80 % ของพื้นที่ต่างๆ ในภาค ซึ่งป่าชนิดนี้จะเจริญเติบโตเร็ว ในบริเวณที่เป็นดินทราย, ดินกรวด, ดินลูกรัง, ซึ่งเป็นดินที่ไม่อุดมสมบูรณ์และแห้งแล้งในฤดูแล้ง ลักษณะ
ของป่าชนิดนี้จะเป็นป่าโปร่ง มีต้นไม้ขนาดเล็กถึงปานกลาง ไม้มีค่าของป่านี้คือ ไม้เต็ง, รัง, ประดู่, พลวง และพื้นล่างของป่าจะมีหญ้าขึ้นแซมทั่วไปป่าชนิดนี้ปัจจุบันมีปัญหาเรื่องการโค่นถางทำลายเพื่อใช้งานเป็น ที่เพราะปลูก
     จากการเลี้ยงไหมจึงมีการทอผ้าอีด้วยผ้าภาคอีสานชาวอีสานถือว่าการทอผ้าเป็นกิจกรรมยามว่างหลัง
จากฤดูการทำนาหรือว่างจากงานประจำอื่นๆ ใต้ถุนบ้านแต่ละบ้านจะกางหูกทอผ้ากันแทบทุกครัวเรือนโดย ผู้หญิง ในวัยต่างๆ จะสืบทอดกันมาผ่านการจดจำและปฏิบัติจากวัยเด็กทั้งลวดลายสีสัน การย้อมและการ ทอ ผ้าที่ทอด้วยมือจะนำไปใช้ตัดเย็บทำเป็นเครื่องนุ่งห่ม หมอน ที่นอน ผ้าห่ม และการทอผ้ายังเป็นการ เตรียมผ้าสำหรับการออกเรือนสำหรับหญิงวัยสาวทั้งการเตรียมสำหรับตนเองและเจ้าบ่าว ทั้งยังเป็นการวัด ถึงความเป็นกุลสตรีเป็นแม่เหย้าแม่เรือนของหญิงชาวอีสานอีกด้วย ผ้าที่ทอขึ้นจำแนกออกเป็น 2 ชนิด คือ
  1. ผ้าทอสำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน จะเป็นผ้าพื้นไม่มีลวดลายเพราะต้องการความทนทานจึงทอด้วย ฝ้ายย้อมสีตามต้องการ
  2. ผ้าทอสำหรับโอกาสพิเศษ เช่น ใช้ในงานบุญประเพณีต่างๆ งานแต่งงานงานฟ้อนรำผ้าที่ทอจึงมัก มีลวดลายที่สวยงามวิจิตรพิสดารมีหลากหลายสีสัน ประเพณีที่คู่กันมากับการทอผ้าคือการลงข่วง โดยบรรดาสาวๆ ในหมู่บ้านจะพากันมารวมกลุ่มก่อกองไฟ บ้างก็สาวไหม บ้างก็ปั่นฝ้าย กรอฝ้าย ฝ่ายชายก็ถือโอกาสมาเกี้ยวพาราสีและนั่งคุยเป็นเพื่อนบางครั้งก็มีการนำดนตรีพื้นบ้านอย่างพิณ แคน โหวต มาบรรเลงจ่ายผญาโต้ตอบกันเนื่องจากอีสานมีชนอยู่หลายกลุ่มวัฒนธรรม
วัฒนธรรมเกี่ยวกับประเพณี พิธีกรรมและความเชื่อ


        ประเพณีบุญบั้งไฟ 
        เป็นประเพณีที่ชาวอีสานจัดขึ้นในเดือน 6 เรียกกันว่า "บุญเดือนหก" มีจุดมุ่งหมายเพื่อ เป็นงานรื่นเริงครั้งใหญ่ก่อนการเริ่มทำนา และเป็นการสร้างกำลังใจว่าการทำนาในปีนั้นจะได้ผลดี โดยมี ความเชื่อว่าเทวดาคือ "พระยาแถน" สามารถบัลดาลให้พืชผลในท้องนาอุดมสมบูรณ์ หากบูชาเซ่นสรวงให้ พระยาแถนพอใจก็จะช่วยให้ฝนตกตามฤดูกาล การทำนาได้ผลธัญญาหารบริบูรณ์ โดยเฉพาะถ้าหมู่บ้านใคร ทำบุญบั้งไฟติดต่อกันทุก 3 ปี
     ประเพณีบุญบั้งไฟตามตำนานเล่าว่า เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าถือชาติกำเนิดเป็นพญาคางคกได้อาศัยอยู่ใต้ ร่มโพธิ์ใหญ่ในเมืองพันทุมวดี ด้วยเหตุใดไม่แจ้ง พญาแถนเทพเจ้าแห่งฝนโกรธเคืองโลกมนุษย์มากจึง แกล้งไม่ให้ฝนตกนานถึง 7 เดือน ทำให้เกิดความลำบากยากแค้นอย่างแสนสาหัสแก่มวลมนุษย์ สัตว์และ พืช จนกระทั่งพากันล้มตายเป็นจำนวนมากพวกที่แข็งแรงก็รอดตายและได้พากันมารวมกลุ่มใต้ต้นโพธิ์ใหญ่ กับพญาคางคก สรรพสัตว์ทั้งหลายจึงได้หารือกันเพื่อจะหาวิธีการปราบพญาแถนที่ประชุมได้ตกลงกันให้ พญานาคยกทัพไปรบกับพญาแถน แต่ก็ต้องพ่ายแพ้จากนั้นจึงให้พญาต่อแตนยกทัพไปปราบแต่ก็ต้องพ่าย แพ้อีกเช่นกัน ทำให้พวกสรรพสัตว์ทั้งหลายเกิดความท้อถอย หมดกำลังใจและสิ้นหวัง ได้แต่รอวันตาย
    ในที่สุด พญาคางคกจึงขออาสาที่จะไปรบกับพญาแถน จึงได้วางแผนในการรบโดยปลวกทั้งหลายก่อ จอมปลวกขึ้นไปจนถึงเมืองพญาแถน เพื่อเป็นเส้นทางให้บรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายได้เดินทางไปสู่เมือง พญาแถน ซึ่งมีมอด แมลงป่อง ตะขาบ สำหรับมอดได้รับหน้าที่ให้ทำการกัดเจาะ ด้ามอาวุธที่ทำด้วยไม้ทุก ชนิด ส่วนแมลงป่องและตะขาบให้ซ่อนตัวอยู่ตามกองฟืนที่ใช้หุงต้มอาหาร และอยู่ตามเสื้อผ้าของไพร่พล พญาแถนทำหน้าที่กัดต่อย หลังจากวางแผนเรียบร้อย กองทัพพญาคางคกก็เดินทางเพื่อปฏิบัติหน้าที่การ รบ มอดทำหน้าที่กัดเจาะด้ามอาวุธ แมลงป่องและตะขาบกัดต่อยไพร่พลของพญาแถนจนเจ็บปวด ร้องระงม
จนกองทัพระส่ำระสาย ในที่สุดพญาแถนจึงได้ยอมแพ้และตกลงทำสัญญาสงบศึกกับพญาคางคก ดังนี้
  1. ถ้ามวลมนุษย์จุดบั้งไฟขึ้นสู่ท้องฟ้าเมื่อใด ให้พญาแถนสั่งให้ฝนตกในโลกมนุษย์
  2. ถ้าได้ยินเสียงกบ เขียดร้อง ให้รับรู้ว่าฝนได้ตกลงมาแล้ว
  3. ถ้าได้ยินเสียงสนู (เสียงธนูหวายของว่าว) หรือเสียงโหวด ให้ฝนหยุดตก เพราะจะเข้าสู่ฤดูเก็บเกี่ยว ข้าว หลังจากที่ได้สัญญากันแล้ว พญาแถนจึงได้ถูกปล่อยตัวไปและได้ปฏิบัติตามสัญญามาจนบัดนี้
     ในการทำบั้งไฟนั้นชาวบ้านทั้งในหมู่บ้านเดียวกันและหมู่บ้านใกล้เคียง จะมารวมกันแล้วแบ่งเป็นกลุ่มๆ ละ 5-10 ครัวเรือน ทำบั้งไฟ 1 กระบอก บั้งไฟ คือกระบอกไม้ไผ่บรรจุดินปืน สำหรับจุดให้ติดไฟพุ่งขึ้นไป บนท้องฟ้า ชาวบ้านจะตกแต่งบั้งไฟให้สวยงามด้วยการแกะรูปลายเป็นรูปลายไทย หรือสุพรรณหงส์ หรือนำ ผ้าไหมมาทอลายต่างๆ มาประดับในงานบุญบั้งไฟ ในพิธีต่างๆ เช่น วันแรกของงานแรกว่า "วันโฮม" หรือวัน รวมชาวบ้านจะมาทำบุญที่วัด มีการแห่และประกวดบั้งไฟ วันที่สองแรกวันจุดหรือวันจุดบั้งไฟ โดยแห่บั้งไฟ ออกไปกลางทุ่งนา วางบั้งไฟไว้บนกิ่งไม้ที่ใหญ่และแข็งแรง จากนั้นก็จุดบั้งไฟ ถ้าบั้งไฟของใครจุดติดและ พุ่งขึ้นสูง นายช่างผู้ทำบั้งไฟจะได้รับการรดน้ำจากชาวบ้านเป็นการแสดงความยินดี ถ้าบั้งไฟใครจุดไม่ติด หรือพุ่งไม่สูง นายช่างก็จะถูกจับโยนลงในน้ำขุ่นที่มีโคลนเลน หลังจากเทศกาลบุญบั้งไฟผ่านไปแล้วชาว บ้านก็จะเริ่มลงมือทำนา ประเพณีบุญบั้งไฟที่มีชื่อเสียงมาก คือที่จังหวัดยโสธร

วัฒนธรรมเกี่ยวกับประเพณี พิธีกรรมและความเชื่อ
ประเพณีผีตาโขน  การละเล่นผีตาโขนมีมานานแล้ว แต่ไม่มีหลักฐานปรากฎแน่ชัดว่ามีมาตั้งแต่เมื่อใด แต่ ชาวบ้านมีความเชื่อว่าการแห่ผีตาโขนเกิดขึ้นเมื่อครั้งที่พระเวสสันดรและนางมัทรี กำลังจะออกจากป่ากลับ สู่เมือง บรรดาผีป่าและสัตว์นานาชนิด มีความอาลัยจึงแฝงตนมากับชาวบ้าน เพื่อมาส่งพระเวสสันดร และ นางมัทรีกลับเมือง ซึ่งเรียกกันว่า "ผีตามคน หรือผีตาโขน" ช่วงเวลาการละเล่น คือช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ของทุกปี


       พิธีกรรม 

     เนื่องจากงานประเพณีผีตาโขน เป็นงานบุญใหญ่ซึ่งเรียกกันว่า"งานบุญหลวง" จัดขึ้นที่วัดโพนชัย อ.ด่านซ้าย โดยมีการละเล่นผี ตาโขน มีการเทศน์มหาชาติ มีการทำบุญพระธาตุศรีสองรัก และงาน บุญต่างๆ เข้า มาผสมอยู่รวมๆ กัน จึงมีการจัดงานกัน 3 วัน
วันแรก  เริ่มพิธีตอนเช้า 04.00-05.00 น. คณะแสนหรือข้าทาส บริวารของเจ้าพ่อกวนจะนำอุปกรณ์ มีด ดาบ หอก ฉัตร พานดอกไม้ ธูปเทียน ขันห้าขันแปด (พานดอกไม้ 5 คู่ หรือ 8 คู่) ถือเดินนำ ขบวนไปที่ริมแม่น้ำหมัน เพื่อนิมนต์พระอุปคุตต์ พระผู้มีฤทธานุภาพมาก และมักเนรมิตกายอยู่ในมหาสมุทร เพื่อป้องกันภัยอันตราย และให้เกิดความสุขสวัสดี เมื่อถึงแล้วผู้อัญเชิญต้องกล่าวพระคาถา และให้อีกคนลงไปในน้ำ งมก้อนหินใต้น้ำขึ้นมาถามว่า “ใช่พระอุปคุตต์หรือไม่” ผู้ที่ยืนอยู่บนฝั่งตอบว่า “ไม่ใช่” พอก้อนหิน ก้อนที่ 3 ให้ตอบว่า “ใช่ นั่นแหละพระอุปคุตต์ที่แท้จริง” เมื่อได้พระอุปคุตต์มาแล้ว ก็นำใส่พานแล้วนำขบวนกลับที่หอพระอุปคุตต์ ทำการทักขิณาวัฏ 3รอบ มีการยิงปืนและจุดประทัด ซึ่งช่วงเวลานั้นบรรดาผีตาโขนที่นอนหลับหรืออยู่ตามที่ต่างๆ ก็จะมาร่วมขบวนด้วยความยินดีปรีดา เต้นรำเข้าจังหวะกับเสียงหมากกระแหล่ง ซึ่งเป็นกระดิ่งผูกคอวัว หรือกระดิ่งให้ดังเสียงดัง

       วันที่สอง  เป็นพิธีแห่พระเวส ในขบวนประกอบด้วย พระพุทธรูป 1 องค์ พระสงฆ์ 4 รูป นั่งบนแคร่หามตาม ด้วยเจ้าพ่อกวนนั่งอยู่บนกระบอกบั้งไฟ ท้ายขบวนเป็นเจ้าแม่นางเทียม กับบริวาร ชาวบ้านและเหล่าผีตา โขนเดินตามเสด็จไปรอบเมือง ก่อนตะวันตกดิน สำหรับคนที่เล่นเป็นผีตาโขนใหญ่ ต้องถอดเครื่องแต่งกาย ผีตาโขนใหญ่ออกให้หมด และนำไปทิ้งในแม่น้ำหมัน ห้ามนำเข้าบ้าน เป็นการทิ้งความทุกข์ยาก และสิ่งเลว ร้ายไป รอจนปีหน้าฟ้าใหม่แล้วค่อยทำเล่นกันใหม่

     วันที่สาม  เป็นการรวมเอางานบุญประเพณีประจำเดือนต่างๆ ของปี มารวมกันจัดในงานบุญหลวง ประชาชน จะมานั่งฟังเทศน์มหาชาติ 13 กัณฑ์ ที่วัดโพนชัย เพื่อเป็นการสร้างกุศลและเป็นมงคลแก่ชีวิต
     งานประเพณีบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขน ถือเป็นงานที่แสดงออกถึงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านอันดี งาม ที่เป็นเอกลักษณ์ของอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย
ผีตาโขนจะแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
  1. ผีตาโขนใหญ่
  2. ผีตาโขนเล็ก
ผีตาโขนใหญ่  จะสานมาจากไม้ไผ่ มีขนาดใหญ่กว่าคนประมาณ 2 เท่า แล้วจะประดับตกแต่งหน้าตาด้วยเศษวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น ใน การทำผีตาโขนใหญ่ในแต่ละปีจะทำ 2 ตัว คือ ชาย 1 ตัว และหญิง อีก 1 ตัวเท่านั้น ผู้ที่มีหน้าที่ทำผีตาโขนใหญ่ จะต้องได้รับอนุญาต จากผีหรือเจ้าก่อน และเมือได้รับอนุญาตแล้ว ต้องทำผีตาโขนใหญ่ ทุกๆ ปี หรือต้องทำติดต่อกันอย่างน้อย 3 ปี เพราะว่าคนที่ไม่ได้รับ อนุญาตก็จะไม่มีสิทธิ์ทำผีตาโขนใหญ่ เวลาแห่จะต้องมีคนเข้าไปอยู่
ในตัวหุ่น

ผีตาโขนเล็ก  ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ก็มีสิทธิ์ทำผีตาโขนเล็ก เพื่อเข้าร่วมสนุกสนานกันได้ทุกคน การเล่นของผีตาโขนเล็กค่อน ข้างผาดโผน ผู้หญิงจึงไม่ค่อยนิยมเข้าร่วม การแต่งกายของผู้ที่เข้า ร่วมในพิธีแห่ผีตาโขน จะแต่งกายคล้ายกันกับผี ปีศาจ ที่สวมศีรษะ ด้วยที่นึ่งข้าวเหนียว หรือที่เรียกว่า "กระติ๊บข้าวเหนียว" นั่นเอง และ ใส่หน้ากากที่ทำด้วยกาบมะพร้าวแกะสลัก มีการละเล่นร้องรำทำ เพลงกันอย่างสนุกสนานในขบวนแห่
     การละเล่นผีตาโขน นับว่าเป็นสิ่งที่แปลกสำหรับผู้พบเห็น มีการ นำเอาก้านทางมะพร้าวที่แห้ง นำมาตกแต่งเป็นหน้ากาก โดยการ เจาะช่องตา จมูก ปาก และใบหู นำเอาหวดนึ่งข้าว โดยกดดันหวด ให้เป็นรอยบุ๋มหงายปากหวดขึ้น เพื่อสวมศีรษะแต่งแต้มสีสันให้น่าดู ส่วนชุดที่สวมใส่ทำมาจากเศษผ้าหลากหลายสีมาเย็บต่อกัน
    อุปกรณ์ในการละเล่นมี 2 ชิ้น คือ "หมากกระแหล่ง" มีไว้เพื่อเขย่า ทำให้เกิดเสียงดังในเวลาเดิน และ "อาวุธประจำกาย" ผีตาโขนส่วน มากจะใช้ผู้ชายแสดง เนื่องจากต้องกระโดดโลดเต้นไปเรื่อยๆ จึงไม่ เหมาะที่จะใช้ผู้หญิงเป็นตัวแสดง นอกจากเข้าร่วมในงาน "บุญ หลวง" ยังได้เข้าร่วมขบวนแห่ในวันเปิดงานกาชาดดอกฝ้ายบาน มะขามหวานเมืองเลย โดยขบวนผีตาโขนจะเดินรอบเมือง เพื่อโชว์
ให้แขกบ้านแขกเมืองได้เห็น


เว็บไซต์ที่อ้างอิง



      

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น